ทำความเข้าใจอย่างง่ายในกฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์

ทำความเข้าใจอย่างง่ายในกฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์

กฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม) เป็นกฎหมายกลางที่รองรับสถานะทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์มีผลเท่ากับกระดาษ

ให้มีผลผูกพันและใช้บังคับได้ตามกฎหมายหลักการพื้นฐานของ พ.ร.บ.ธุรกรรมฯ จะเป็นหนังสือ ลายเซ็น เป็นต้นฉบับหรือต้องเป็นพยานหลักฐานในศาลก็ทำเป็นอิเล็กทรอนิกส์ได้ด้วยกฏหมายฉบับนี้

กฎหมายฉบับนี้มีหลักการ คือ

- หลักความเท่าเทียมกัน (Functional Equivalence) ระหว่าง “กระดาษ” และ “ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์” เพื่อให้การทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ มีผลทางกฎหมายเทียบเท่าการใช้กระดาษ
- หลักความเป็นกลางทางเทคโนโลยี (Technological Neutrality) ที่ไม่ระบุเฉพาะเจาะจงเทคโนโลยีใดเทคโนโลยีหนึ่ง แต่รองรับพัฒนาการของเทคโนโลยีที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และ
- หลักเสรีภาพการแสดงเจตนา (Party Autonomy) ของคู่สัญญา

 ทำความเข้าใจอย่างง่ายในกฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์

ทั้งนี้ ภายใต้กฎหมายธุรกรรมฯ ได้มีหลักเกณฑ์รองรับการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ในกระบวนการต่าง ๆ ที่สำคัญ เช่น หากเกิดคดีความฟ้องร้องแล้วมีการขอหลักฐานต้นฉบับ กฎหมายก็จะระบุไว้ว่า ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นต้นฉบับต้องเป็นอย่างไร หรือในกรณีที่บางหน่วยงานมีข้อบังคับเรื่องการจัดเก็บเอกสารบางประเภทเป็นเวลาหลาย ๆ ปี กฎหมายก็จะระบุว่า วิธีการจัดเก็บเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นที่ยอมรับตามกฎหมายเป็นอย่างไร

Website : https://www.pimlegal.com

Contact

Line Official : Pimlegal

Tel : 094-365-5697, 092-889-9046

Email : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.


#Pimlegal #PimlegalThailand #Pimaccounting #Serviceagency #PDPA #GDPR #Business #businessthailand #foreignownership #PDPAconsulting #PersonalDataProtectiveAct #กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล #LegalCompliance #SocialMediaLaw #DigitalLaw